ประวัติความเป็นมาศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนสระแก้ว
ประวัติศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนสระแก้ว
ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนสระแก้ว (เดิมคือจังหวัดปราจีนบุรี) เป็นหน่วยงานประเภทสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศตั้งเมื่อ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2525 โดย ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายเกษม ศิริสัมพันธ์ ตามระเบียบกระทรวง ศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2525 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2525
การจัดตั้งศูนย์แห่งนี้ เริ่มจากศูนย์อำนวยการร่วม กองบัญชาการทหารสูงสุด และกรมการศึกษานอกโรงเรียน ได้ตระหนักถึงความเดือดร้อนจากผลกระทบของสงคราม ในเขตชายแดนไทย-กัมพูชา ราษฎรและทหารกัมพูชาจำนวนมากได้หลบหนีการสู้รบ และหนีความอดอยากเข้ามาสู่ประเทศไทยในบริเวณชายแดนจังหวัดปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด และอื่น ๆ ทำให้ความเป็นอยู่ของราษฎรไทยที่อาศัยอยู่ในแถบนี้ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก บางครอบครัวต้องละถิ่นฐานและอพยพหนีภัยสงคราม รัฐบาลจำเป็นต้องหาทางแก้ไขอย่างรีบด่วน ซึ่งวิถีทางหนึ่ง ก็คือการพัฒนาอาชีพราษฎรไทยเพื่อเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ด้วยเหตุนี้ศูนย์อำนวยการร่วมกองบัญชาการทหารสูงสุด จึงได้ประสานงานขอความช่วยเหลืองบประมาณจากรัฐบาลญี่ปุ่นตามหนังสือสำคัญที่ลงนามโดย พลเอกสายหยุด เกิดผล เสนาธิการทหาร ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้ความเห็นชอบ และช่วยเหลืองบประมาณค่าก่อสร้างและครุภัณฑ์ครั้งแรก เป็นเงินประมาณ 58 ล้านบาท ซึ่งมี ดร.นิเชต สุนทรพิทักษ์ รองอธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ลงนามในสัญญารับความช่วยเหลือ เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 คุณหญิงอารี กุลตัณฑ์ อธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน เป็นผู้ลงนามในสัญญาการก่อสร้างและการจัดซื้อครุภัณฑ์ ณ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2525 โดยมีบริษัทก่อสร้าง โอบายาซิ-งูมิ แห่งประเทศญี่ปุ่น เป็นบริษัทชนะการประกวดราคา การก่อสร้างได้เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2525 ภายในเนื้อที่ประมาณ 270 ไร่ (ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 3 ตำบลท่าเกษม อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี) กระทรวงศึกษาธิการได้ทำพิธีรับมอบอาคารจากบริษัทก่อสร้าง เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2526 โดยมีอธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน ดร. โกวิท วรพิพัฒน์ เป็นผู้รับมอบ มีอาคารหลักจำนวน 10 หลัง รวมทั้ง ครุภัณฑ์ยานพาหนะ ครุภัณฑ์การสอน และครุภัณฑ์การเกษตร ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 รัฐบาลญี่ปุ่นเห็นชอบอนุมัติ ครุภัณฑ์ยานพาหนะและอุปกรณ์การสอนเพิ่มเติมให้อีก ในวงเงินประมาณ 31 ล้านบาท ซึ่งครุภัณฑ์ทั้งสิ้นจัดซื้อจัดหาจากประเทศญี่ปุ่นโดยตรง ซึ่งนับได้ว่าเป็นศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนแห่งแรก ที่มีเครื่องมือยานพาหนะและอุปกรณ์การสอนวิชาอาชีพที่ครบครันที่สุด
ฐานการเรียนรู้ ไร่นาสวนผสม แปลงสด๊อกก๊อกธม
เขียนโดย
Unknown
ที่
17:41
ฐานการเรียนรู้ไร่นาสวนผสม ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “ เกษตรทฤษฏีใหม่ ”ในการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ในพื้นที่ 1 ไร่ ของฐานการเรียนรู้ ไร่นาสวนผสม
30 % ใช้ขุดสระเก็บกักน้ำ
30 % ใช้ปลูกข้าว
30 % ใช้ปลูกพืชผัก ผลไม้ พืชไร่ ไม้ยืนต้น
10 % ใช้เป็นที่อยู่อาศัยและ อื่น ๆ
เทคนิคการปลูกกล้วยน้ำว้าแบบกลับหัวและการปลูกแบบธรรมดาเปรียบเทียบผลผลิต
การอบรมปฏิบิัติการจัดทำแบบสำรวจออนไลน์
การอบรมปฏิบัติการ โครงการพัฒนาบุคลากรจัดทำแบบสำรวจออนไลน์ Google Docs ผ่าน Blogger
วันที่ ๒๔ - ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ณ โรงแรมสตาร์ จังหวัดระยอง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)